ถังขยะใบที่ 3 สำหรับแยกขยะรีไซเคิล
ขยะรีไซเคิล ได้แก่ ของเสีย หรือวัสดุเหลือใช้ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ซึ่งขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้มีดังนี้
ขยะรีไซเคิลประเภทพลาสติก
ขยะพลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้มีดังนี้
โพลีโพรพิลิน (Polypropylene;PP) เช่น ถ้วยนมเปรี้ยว กระป๋องมันฝรั่งทอด และถังเนยเทียม
โพลีสไตรีน (Polystyrene;PS เช่น โฟม ถาดสลัด กล่องบรรจุวิดีโอและซีดี
โพลีเอทิลีน (Polyethylene;PE) เช่น ขวดเครื่องดื่มหรือขวดน้ำอัดลม
โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride;PVC) เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร สายไฟ และท่อน้ำ
โพลิเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene;HDPE) เช่น เหยือกน้ำผลไม้ เหยือกนม ของเล่น ขวดน้ำยาซักผ้า
โพลิเอทิลินที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low-density Polyethylene;LDPE) เช่น พลาสติกใสสำหรับห่ออาหาร และถุงหิ้ว
ขั้นตอนการแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิล
กรณีที่เป็นขวด ให้ล้สงสิ่งปนเปื้อนออกให้หมด ดึงฉลากและสิ่งต่างๆ ที่ติดกับพลาสติกออกให้หมด
ทำให้แบนเพื่อประหยัดเนื้อที่
คัดแยกพลาสติกออกตามปรเภท โดยสังเกตประเภทของพลาสติกจากเครื่องหมายที่บรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีเครื่องหมายรีไซเคิลพร้อมทั้งตัวเลขระบุประเภทของพลาสติกระบุเอาไว้ชัดเจน
ขยะรีไซเคิลประเภทกระดาษ
กระดาษที่สามารถนำไปรีไซเคิลจะต้องไม่เป็นกระดาษที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันต่างๆ และต้องแยกประเภทกระดาษดังนี้
กระดาษแข็งกล่องน้ำตาล
กระดาษย่อยและหนังสือเล่มทั่วไป
กระดาษขาวสำนักงาน
กระดาษหนังสือพิมพ์
สมุดโทรศัพท์
กระดาษสมุดนักเรียน
กล่องยูเอชที
ขยะรีไซเคิลประเภทแก้ว
แก้วที่ยังคงสภาพดี
ขวดแก้วที่ยังคงสภาพดีจะถูกนำมาคัดแยกตามสีและประเภทที่บรรจุสินค้า และส่งแลับเข้าโรงงานเพื่อนำไปล้างและฆ่าเชื้อโรคเพื่อนำกลับมาบรรจุสินค้าใหม่ซ้ำอีกอย่างน้อยถึง 30 ครั้ง เช่น ขวดแม่โขง ขวดเบียร์ ขวดน้ำปลา ขวดซอส ขวดน้ำอัดลมแบบวันเวย์ ฯลฯ
แก้วแตก
เศษแก้วที่แตกปล้วจะถูกนำมาคัดแยกสี และถูกส่งเข้าโรงงานหลอมแก้ว เพื่อทุบให้แตกละเอียด ล้างทำความสะอาดด้วยสารเคมีและหลอมละลาย เพื่อเป่าเป็นขวดใหม่
ขยะรีไซเคิลประเภทโลหะ
โลหะประเภทเหล็ก
เหล็กสามารถนำมารีไซเคิลได้ทุกชนิด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ เหล็กหล่อ เหล็กหนา และเหล็กบาง ราคราซื้อขายจะต่างกันตามประเภทของเหล็ก ซึ่งพ่อค้ารับซื้อของเก่าจะทำการตัดเหล็กตามขนาดต่างๆ ตามที่ท่างโรงงานกำหนดเพื่อสะดวกในการเข้าเตาหลอมและการขนส่ง
โลหะประเภทอะลูมิเนียม
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1) อะลูมินียมหนา เช่น อะไหร่เครื่องยนต์ ลูกสูบ อะลูมิเนียมาอัลลอย ฯลฯ
(2) อะลูมิเนียมบาง เช่น หม้อ กะละมังซักผ้า ขันน้ำ กระป๋องเครื่องดื่ม ฯลฯ
ราคาซื้อขายโลหะอะลูมิเนียมมีราคาตั้งแต่ 10 บาท จนถึง 45 บาท โดยอะลูมิเนียมหนาจะมีราคาแพงกว่าอะลูมิเนียมบาง
โลหะประเภททองเหลือง ทองแดง และสแตนเลส
โลหะประเภทนี้มีราคาสูงตั้งแต่ 30 บาท ไปจนถึง 60 บาท โดยทองเหลืองสามารถนำกลับมาหลอมใหม่ โดยทำเป็นพระ ระฆัง หรือ อุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่างๆ ส่วนทองแดงก็นำกลับมาหลอมทำสายไฟได้ใหม่